โทรศัพท์มือถือ กลายมาเป็นสินทรัพย์ที่สร้างอิทธิพลมหาศาลต่อการดำเนินชีวิตของคนทำงานในปัจจุบัน การอัพเดตข่าวสารทางโซเชียลมีเดียกลายมาเป็น ปัจจัยที่ 5 ในลำดับความสำคัญของชีวิตไปแล้ว จนบางครั้งอาจส่งผลต่อการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่จะ ติดลบ ไปด้วย ซึ่งในบทความนี้จะมารู้จักคำเกิดใหม่อย่าง Phubbing
คำว่า Phubbing ที่เป็นการผสมคำของ “Snubbing” + “Phone” ได้ถูกคิดค้นมาจาก เอเจนซี่โฆษณาเจ้าหนึ่งในประเทศออสเตเรีย ที่ใช้สื่อแทนกลุ่มคนประเภทที่สนใจแต่การเล่นโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์ในขณะที่กำลังใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงานในองค์กร ปัญหาการละเลยลักษณะนี้กำลังจะกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ต่อความสัมพันธ์ทางครอบครัว เพื่อน และแม้กระทั่งการทำงานในองค์กร เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารงาน ประชุมโปรเจกต์ และการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น
จากงานวิจัยของเว็บไซต์ Sciencedirect.com ได้ระบุตัวเลขที่น่าสนใจไว้ว่า มีกลุ่มคนมากกว่า 17 % ที่แสดงพฤติกรรมการ Phubbing ต่อบุคคลรอบข้างอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง และมีกลุ่มคนมากกว่า 32% ที่ถูก Phubbing วันละ 2-3 ครั้ง
สัญญานบ่งชี้ว่าคุณกำลังจะกลายเป็น Phubber ในองค์กร
- คุณมักจะชอบแสดงพฤติกรรมการสื่อสาร 2 ช่องทางในเวลาเดียวกัน เช่น ชอบคุยโทรศัพท์หรือพิมพ์แชทสนทนา ไปพร้อมการพูดคุยกับผู้ที่อยู่ตรงหน้าคุณ และสุดท้ายจะลงเอยด้วยการสื่อสารที่ล้มเหลว ทั้ง 2 ช่องทาง
- ในขณะที่กำลังมีงานเข้าสังคมขององค์กรประเภทต่าง ๆ คุณมักจะชอบแยกตัวออกไปพร้อมกับโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อใช้เวลาอยู่คนเดียว หรือ ระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ คุณจะต้องเอาโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ ๆ ตัวตลอดเวลา
- คุณไม่สามารถทานอาหารได้ โดยปราศจากการเช็คข่าวสาร หรือเล่นโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์ในระหว่างมื้ออาหาร ที่ต้องมีโทรศัพท์วางไว้ข้าง ๆ จานอยู่เสมอ
3 แนวทางที่จะช่วยหยุดการ Phubbing ในองค์กร
Make meals a no-phone zone ทำมื้ออาหารของคุณให้ “ปราศจากมือถือ”
เวลาทานอาหารไม่ว่าจะเป็นมื้อไหน ให้เก็บโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋า หรือหากจำเป็นจริง ๆ ที่ต้องวางไว้ข้าง ๆ จานอาหาร ก็พยายามใช้ โหมดห้ามรบกวน ( Do not Disturb ) คุณต้องให้ความสำคัญกับมื้ออาหารของตัวเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีให้กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครวบครัว เพื่อนสนิท หรือแม้แต่เพื่อร่วมร่วมงานของคุณ
Leave your phone behind ให้ความสำคัญกับมือถือของคุณน้อยลง
เมื่ออยู่ในที่ทำงาน คุณลองที่จะเก็บโทรศัพท์มือถือของคุณไว้ที่ไหนสักแห่ง เช่น ในกระเป๋า ลิ้นชัก เพื่อที่จะโฟกัสกับเพื่อนร่วมงาน สื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยที่ไม่ต้องมาพะวงกับโลกอีกใบที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือคุณมากเกินไป พยายามหยิบจับมันเมื่อเวลาจำเป็นเท่านั้น
Challenge yourself สร้างความท้าทายให้กับตัวเอง
คุณอาจจะลองหารางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับตัวเอง หากในหนึ่งสัปดาห์คุณตั้งใจที่จะลดชั่วโมงการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้เวลากับการสร้าวความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแทน หากในฐานะขององค์กร ผู้นำหรือฝ่าย HRD อาจจะสร้างสรรค์กิจกรรมเล็ก ๆ ให้กับพนักงานในเรื่องการลดใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อปลูกฝังให้พนักงานกันมาใส่ที่จะสื่อสารกันแบบตัวต่อตัวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวบุคคลและองค์กร
“5 วิธีที่จะทำให้ใคร ๆ ก็ หลงรักคุณ ”
- ให้ความสนใจในเรื่องของผู้อื่นอย่างจริงใจ วางเรื่องตัวเอง แล้วสนใจเรื่องคนที่อยู่ตรงหน้า
- ยิ้ม พยายามสื่อสารกับผู้อื่นด้วยรอยยิ้ม สร้างความประทับใจให้กับคู่สนทนา
- จำชื่อคนที่คุยด้วย เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกเป็นคนสำคัญ
- เป็นผู้ฟังที่ดี ชักชวนให้คนอื่นพูดถึงเรื่องของเขา พูดถึงเรื่องตัวเองได้บ้าง แต่ไม่เยอะจนเกินไป
- พูดเรื่องที่ผู้อื่นสนใจ ทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าตัวเขาเองเป็นคนสำคัญ และทำอย่างจริงใจ
อ้างอิงเนื้อหาจาก : https://www.healthline.com/health/phubbing#effects-on-mental-health , https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0747563216303454 ,
หลักสูตร Collaborative Communication