7 กับดักหัวหน้ามือใหม่ ไม่อยากทำทีมลาออก ต้องระวัง

Table of Contents

7 กับดักของหัวหน้ามือใหม่ที่ต้องระวัง

7 กับดักของหัวหน้ามือใหม่ที่ต้องระวัง การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าเป็นครั้งแรก ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในชีวิตการทำงาน จากที่เคยเป็นคนทำงาน Operation ก็ต้องปรับตัวมาเป็นผู้นำคอยบริหารทั้งงานและคนแทน และนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย!

หัวหน้ามือใหม่หลายท่าน มักเผชิญความผิดพลาดและกับดักต่าง ๆ ที่ทำให้การบริหารงานไม่ราบรื่น บางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพนักงานทยอยลาออกยกทีม ทำลายความมั่นใจในการเป็นหัวหน้าของใครหลาย ๆ คน อย่าปล่อยให้พนักงานเก่ง ๆ ต้องลาออก อย่าเสียความมั่นใจในตัวเองเพราะผิดพลาดบ่อยครั้ง เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถคาดการณ์ รับมือและป้องกันได้

Beyond Training ชวนหัวหน้ามือใหม่ทุกคนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำอย่างสง่างาม คลายความกังวล พร้อมรับมือกับ 7 กับดักของหัวหน้ามือใหม่อาจต้องเผชิญ

1. หัวหน้ามือใหม่อยากทำทุกอย่างด้วยตัวเอง

ถึงจะเริ่มเป็นหัวหน้ามือใหม่ แต่หลายคนยังติดนิสัยการทำงานแบบเดิม! คือชอบลงมือทำเองทุกอย่าง เพราะคิดว่าจะได้งานที่สมบูรณ์แบบที่สุด ใครก็ทำไม่ดีเท่าฉัน หรือถ้าปล่อยให้ทำก็ไม่ได้มาตรฐาน เสียเวลาแก้งานอีก สู้ทำเองคงดีที่สุด

แต่จริง ๆ แล้ว นี่คือกับดักสำคัญ เพราะจะทำให้คุณหมดเวลาไปกับงานปลีกย่อย จนไม่มีเวลาวางแผนหรือดูแลภาพรวม ลองเรียนรู้ที่จะ “มอบหมายงาน” ให้ลูกทีมบ้าง เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสเติบโตไปพร้อม ๆ กับคุณ

คำถามชวนคิด: หัวหน้ามือใหม่จะทำผลงานด้วยตัวคนเดียวได้นานแค่ไหน

ถึงหัวหน้ามือใหม่จะทำผลงานได้ด้วยตัวคนเดียว แต่จะทำได้นานเท่าไหร่หรือต่อให้ทำมากแค่ไหนก็ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม จะดีกว่าไหม? ถ้าหัวหน้าขับเคลื่อนประสิทธิภาพผ่านทีม เพื่อเพิ่มผลลัพธ์มากขึ้น คิดว่าวันนึงมี 24 ชั่วโมง คุณจะทำคนเดียวได้เท่าไหร่ นานแค่ไหน จะหมดไฟก่อนถึงเป้าไหม แล้วคุณจะสอนให้ทีมเก่งได้เมื่อไหร่เพื่อเติบโตต่อไปเป็นอีกขั้น

เทคนิคการมอบหมายงานสำหรับหัวหน้ามือใหม่

รู้จักกระจายงานตามความถนัดของลูกทีม พร้อมติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำ เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมและได้แสดงศักยภาพ


2. หัวหน้ามือใหม่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา อย่าเพิ่งคาดหวังว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงได้ในพริบตา เพียงแค่คุณขึ้นมาเป็นหัวหน้า จงค่อยๆ วางแผน ปรับทีละนิด และสื่อสารชัดเจนกับทีมถึงเป้าหมายที่ต้องการ แล้วค่อยๆ พาทีมเดินไปด้วยกันทีละก้าว

เทคนิคการตั้งความคาดหวังและสื่อสารกับทีมงาน

หัวหน้ามือใหม่ต้องเข้าใจ Strategy องค์กร เข้าใจไม้บรรทัดบริษัทก่อน จากนั้น Set Expectation ตั้งเป้าหมายให้ชัดตามหลัก SMART GOAL คาดหวังอะไรจากลูกน้องต้องบอกให้ชัด อยากให้ทำงานอะไร ทำแบบไหน ตัวเลข KPI เป็นอย่างไร? อยากให้พวกเขาแสดงพฤติกรรมอะไรในการทำงานบ้าง ควรสื่อสารให้เข้าใจตรงกันตั้งแต่วันแรกที่ทีมเข้ามาทำงาน


3. หัวหน้ามือใหม่ไม่กล้าตัดสินใจ

บางครั้งหัวหน้ามือใหม่ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะกลัวผิดพลาด กลัวรับผิดชอบ แต่บทบาทของหัวหน้าคือต้องกล้าชี้ขาดในจุดที่จำเป็น ถึงแม้อาจจะผิดพลาดบ้าง แต่ก็ถือเป็นบทเรียนในการพัฒนาต่อไป จงเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และพร้อมรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น

เทคนิคสร้างความกล้าให้หัวหน้ามือใหม่ ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดนอกกรอบ ฝึกฝนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจ
  • เรียนรู้เกี่ยวกับงานและทีมให้ลึกซึ้ง เข้าใจเป้าหมาย กลยุทธ์ ความท้าทาย รู้จักจุดแข็งจุดอ่อน ของลูกทีม เพื่อมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดี
  • ปรึกษาหารือกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ ขอคำแนะนำ เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น เพื่อเพิ่มมุมมองในการตัดสินใจ
  • กล้าตัดสินใจในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ ไม่ลังเลหรือผลักภาระให้ผู้อื่น พร้อมรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ถึงแม้อาจจะผิดพลาดบ้าง แต่ก็ถือเป็นบทเรียนในการพัฒนาต่อไป
  • เชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิด กล้าตัดสินใจ อย่าคิดมากกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เลิกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ตอกย้ำกับตัวเองว่ามีความมั่นใจที่จะทำสิ่งต่างๆ
  • ฝึกฝนการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงประเด็น สร้างความเข้าใจ เพื่อสามารถอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
  • พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจในการตัดสินใจ

4. หัวหน้ามือใหม่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

การเป็นหัวหน้าไม่ได้แปลว่าความคิดของเราถูกต้องเสมอไป บางครั้งลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานอาจมีไอเดียที่ดีกว่าเราก็ได้ อย่ายึดติดกับความคิดของตัวเองมากเกินไป จงเปิดใจรับฟังความเห็นของคนอื่นบ้าง บางทีอาจได้มุมมองใหม่ๆ ที่นำมาปรับใช้กับงานได้ดีทีเดียว

เทคนิคการรับฟังอย่างไรให้เข้าใจ

  • ฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจ เปิดใจกว้าง ไม่ด่วนตัดสิน ให้ความสนใจกับผู้พูดอย่างเต็มที่ เหมือนมีแค่ผู้พูดอยู่ตรงหน้าเท่านั้น
  • ฟังด้วยสติ อยู่กับปัจจุบัน ไม่เผลอคิดเรื่องอื่นหรือคิดแทรกแซง หากเผลอคิดหรือมีอารมณ์ ให้รู้ทันตนเอง มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด
  • สังเกตภาษากาย สีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียงของผู้พูด เพื่อจับอารมณ์ความรู้สึก ใช้ภาษากายแสดงความสนใจ เช่น การสบตา พยักหน้า การทำท่าทีสนใจ
  • ถามคำถามเพื่อความเข้าใจ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้พูดขยายความ อธิบายเพิ่มเติม ช่วยให้เข้าใจมุมมองของผู้พูดมากขึ้น
  • ทวนความเข้าใจ สรุปใจความสำคัญที่ผู้พูดสื่อ ทั้งเนื้อหาและอารมณ์ความรู้สึก เพื่อให้ผู้พูดรู้ว่าเราเข้าใจเขาอย่างถูกต้อง ใช้การถอดความ (paraphrase) และการสะท้อนความรู้สึก (reflect feeling)
  • ให้เกียรติและเคารพความคิดเห็นของผู้พูด ไม่ขัดจังหวะ ไม่โต้แย้งหรือแสดงความเห็นต่างทันที รับฟังอย่างเปิดใจ ให้คุณค่ากับความคิดเห็นของผู้พูดทุกคนอย่างเท่าเทียม
  • ติดตามผลหลังรับฟัง นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ปรับปรุงแก้ไข หรือดำเนินการต่อ แล้วแจ้งความคืบหน้าให้ผู้พูดทราบ เพื่อให้เขารู้ว่าเราให้ความสำคัญและนำความเห็นของเขาไปใช้จริง

5. หัวหน้ามือใหม่ไม่สื่อสารให้ชัดเจน

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้นำทั่วโลกกว่า 56% เห็นว่าการสื่อสารเป้าหมาย ความต้องการและหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นหัวหน้ามือใหม่ที่ดี การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เมื่อสั่งงานอะไรไป ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ทำไม เพื่อให้ลูกทีมเข้าใจตรงกัน ไม่เกิดงานเพี้ยน การสื่อสารที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพ

เทคนิคการสื่อสารให้ชัดเจน

  • สื่อสารเป้าหมาย ความต้องการ และหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกน้องเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน อธิบายให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ทำไม
  • เลือกใช้คำที่สื่อสารได้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม ฟังแล้วเข้าใจในทันที ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
  • ใช้ภาษากาย สีหน้า แววตา น้ำเสียงประกอบการพูด เพื่อเน้นย้ำประเด็นสำคัญ และแสดงความสนใจใส่ใจในสิ่งที่ลูกน้องพูด
  • ทวนความเข้าใจ สรุปใจความสำคัญที่ลูกน้องสื่อ ทั้งเนื้อหาและอารมณ์ความรู้สึก เพื่อให้เขารู้ว่าเราเข้าใจเขาอย่างถูกต้อง
  • ใช้รูปภาพ แผนผัง อินโฟกราฟิก ประกอบการอธิบาย เพราะสมองจะรับรู้ข้อมูลในรูปแบบภาพได้ดีและเร็วกว่าข้อความ
  • ติดตามผลการสื่อสาร ดูว่าลูกน้องเข้าใจและปฏิบัติตามที่สื่อสารไปหรือไม่ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดหรือลืมในภายหลัง

6. หัวหน้ามือใหม่ไม่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

ในฐานะหัวหน้า เราไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟกต์เสมอไป เมื่อทำอะไรผิดพลาดก็ต้องกล้ายอมรับ อย่าโยนความผิดให้คนอื่น เพราะมันจะยิ่งทำให้ดูแย่ลงไปอีก จงออกมายอมรับอย่างจริงใจ และหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้องเคารพและไว้ใจในตัวเรามากขึ้น

สาเหตุสำคัญ ทำไมหัวหน้ามือใหม่ไม่ยอมรับผิด

  • กลัวเสียหน้า กลัวดูไม่ดีในสายตาลูกน้อง เพราะคิดว่าการยอมรับผิดเป็นเรื่องน่าอาย
  • ไม่อยากให้ใครมองว่าตัวเองไม่มีความสามารถ กลัวเสียภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ
  • ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตัวเอง กลัวผิดพลาด กลัวรับผิดชอบ
  • ยังมี Fixed Mindset คิดว่าตัวเองต้องเก่ง ต้องถูกต้องเสมอ ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีข้อบกพร่อง
  • ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี เมื่อเกิดปัญหาจึงชอบโทษคนอื่น

วิธีพลิก Mindset หัวหน้ามือใหม่กล้าแอ่นอกรับผิด

  • คิดว่าตัวเองสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้เสมอ การผิดพลาดคือโอกาสในการเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งน่าอาย
  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ นำมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง
  • ฝึกความซื่อสัตย์ ความจริงใจ กล้ายอมรับความผิดพลาดของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่หลบเลี่ยงหรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
  • มองการยอมรับผิดเป็นจุดแข็ง ไม่ใช่จุดอ่อน เพราะแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความรับผิดชอบ และการให้คุณค่ากับความไว้วางใจจากลูกทีม
  • ตระหนักว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ทุกคนล้วนเคยผิดพลาด สิ่งสำคัญคือกล้ายอมรับและแก้ไข เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

7. หัวหน้ามือใหม่ไม่เห็นคุณค่าของลูกทีม

หัวหน้าบางคนชอบดูถูกลูกน้อง คิดว่าตัวเองเหนือกว่า ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะลูกน้องทุกคนล้วนมีความสามารถและมีคุณค่าในแบบของตัวเอง

วิธีพลิก Mindset หัวหน้ามือใหม่กล้าแอ่นอกรับผิดสถิติที่น่ากังวล

  • พนักงาน 27% ออกจากองค์กรเพราะรู้สึกไม่มีคุณค่าหรือไม่ได้รับการชื่นชมและขอบคุณอย่างเพียงพอในการทำงานของพวกเขา
  • เพียง 39% ของพนักงานได้รับการยอมรับชื่นชมในการทำงานในช่วง 3 เดือนก่อนออกจากงานครั้งสุดท้าย แสดงให้เห็นว่าการไม่ชื่นชมพนักงานเป็นสาเหตุสำคัญของการลาออก
  • พนักงาน 79% ที่ลาออกจากงานเผยว่า การไม่เคยได้รับคำชมจากเจ้านายเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญ

จากสถิติทำให้เห็นแล้วการไม่เห็นคุณค่าในทีม ไม่ชื่นชม มีแต่ทำให้ทีมพัง อย่ามองข้ามหรือดูถูกใคร จงเรียนรู้ที่จะชื่นชม ให้กำลังใจ และดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือบทบาทสำคัญของการเป็นหัวหน้ามือใหม่ที่ดีและไม่ติดอยู่ในกับดัก

การเป็นหัวหน้ามือใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าระวังกับดักเหล่านี้ เชื่อมั่นในตัวเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และปรับตัวไปเรื่อย ๆ สักวันคุณก็จะก้าวขึ้นเป็นหัวหน้ามือใหม่ที่เก่งและเป็นที่รักของลูกน้องได้อย่างแน่นอน อัตราการลาออกใรทีมของคุณก็จะลดลงอย่างน่าพึงพอใจ องค์กรไปต่อได้ไม่มีสะดุด

อย่าลืมพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทีมงานของคุณ ด้วยโปรแกรมพัฒนาผู้นำที่สามารถวัดผลได้จริง สร้างผู้นำที่เก่งทั้งงาน บริหารคนเป็น ลูกน้องไม่ลาออก สนใจเพิ่มเติม คลิก!

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
องค์กรของคุณมีผู้นำระดับกลาง Frontline (Supervisor/First Time Manager/Manager) ประมาณกี่ท่าน
ท่านมีหลักสูตรพัฒนา Frontline Leader หรือผู้นำระดับกลางหรือไม่

สนใจเป็นส่วนหนึ่งของทีมบียอนด์ เทรนนิ่ง

    หากคุณมีความสนใจและต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับเรา คุณสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้ทางทีมงานพิจารณาแล้วตอบกลับคุณโดยไวที่สุด

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
Full Name

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน