การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้จัดการเป็นครั้งแรก (First-Time Manager) อาจจะกลายเป็นเรื่องประหม่าของใครหลายคน เนื่องจากผู้ที่สามารถขึ้นมารับหน้าที่ในตำแหน่งนี้ จะต้องมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งด้านจิตใจและทักษะการทำงาน เพราะต้องรับผิดชอบทั้งตัวเองและผลงานของลูกทีม ฉะนั้นแล้ว การเรียนรู้ทักษะที่สำคัญสำหรับเริ่มต้นสู่ Manager จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ให้ไวที่สุด เพื่อการเติบโตเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในองค์กร
ในหลักสูตร Essential Leadership Skill (First Time Manager) ได้รวบรวมทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการก้าวขึ้นเป็น ผู้จัดการเป็นครั้งแรก (First-Time Manager) เพื่อให้พนักงานที่กำลังจะขึ้นรับตำแหน่ง ผู้จัดการ มีวิธีการปฎิบัตืที่ถูกต้อง เป็นที่เคารพนับถือของลูกน้อง รวมถึงการรับผิดชอบงานตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Beyond Training ได้นำส่วนหนึ่งของเนื้อหาในหลักสูตร Essential Leadership Skill (First Time Manager) ที่เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง ผู้นำ(Leader) VS ผู้จัดการ(Manager) มาอธิบาย พร้อมกับนำข้อมูลจากนิตยสารธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes.com ในหัวข้อ 9 Differences Between Being A Leader And A Manager โดย William Arruda มาเสริม เพื่อสรุปความให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ส่วนนี้ไปปรับใช้กับการเป็นผู้จัดการครั้งแรก (First Time Manager)
ผู้นำสร้างวิสัยทัศน์ ผู้จัดการสร้างเป้าหมาย
ผู้นำ (Leader) มักจะสร้างวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจ รวมถึงการมีส่วนร่วมกับลูกทีม เพื่อปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เหล่านั้นให้กลายเป็นความจริง มีความเชื่อมั่นในตัวของลูกทีม ว่าจะสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ ส่วน ผู้จัดการ (Manager) มุ่งเน้นไปที่การวัดผล โดยจะคอยควบคุมการทำงานของลูกทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ผู้นำคือตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการมักจะรักษาสภาพที่เป็นอยู่
ผู้นำ (Leader) จะเชื่อมั่นในการสร้างนวัตกรรม ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และมักจะหาหนทางที่ดีที่สุดในพัฒนาการทำงานของตนเองและลูกทีม ส่วน ผู้จัดการ(Manager) มักจะมีเป้าหมายทียึดติดกับวิธีการที่ใช้ได้ผล มีระบบและโครงสร้างที่แน่นอน ไม่สนับสนุนวิธีการทำงานที่เสี่ยงต่อความล้มเหลว
ผู้นำสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง ผู้จัดการมักเลียนแบบวิธีการที่สำเร็จแล้ว
ผู้นำ (Leader) ชื่นชอบความเป็นตัวตน เป็นเอกลักษณ์ มักจะพยายามคิดค้นสิ่งใหม่ โดยเชื่อว่าจะต้องดีกว่าสิ่งเดิม ๆ ที่คิดค้นต่อ ๆ กันมา แต่ในทางกลับกัน ผู้จัดการ (Manager) มักจะเน้นการ ทำซ้ำ หรือปฏิบัติตามสิ่งที่เขาเรียนรู้มาอีกทอดหนึ่ง เพื่อการันตีว่า สิ่งนั้นจะได้ผลแบบ 100%
ผู้นำชื่นชอบความเสี่ยง ผู้จัดการควบคุมความเสี่ยง
ผู้นำ (Leader) เต็มใจที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ แม้รู้ว่าอาจจะต้องล้มเหลว แต่ก็ยังเชื่อว่านั่นคือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ แต่ ผู้จัดการ (Manager) มักจะทำงานเพื่อลดความเสี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำแล้วมีโอกาสที่จะล้มเหลว หรือสร้างปัญหาในอนาคต
ผู้นำมองเป้าหมายระยะยาว ผู้จัดการมองเป้าหมายระยะสั้น
ผู้นำ (Leader) เชื่อว่าการกระทำของเขาและลูกทีม จะนำผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มาสู่องค์กรในระยะยาว ความสำเร็จอาจจะมาถึงช้า อันเนื่องมาจากเป้าหมายที่ใหญ่ ส่วน ผู้จัดการ (Manager) จะทำงานเพื่อเป้าหมายระยะสั้น ค่อย ๆ ต่อยอด ชื่นชอบการยอบรับ และภูมิใจกับความสำเร็จระยะสั้นและเป็นขั้นตอน
ผู้นำแสวงหาความรู้ใหม่ ผู้จัดการต่อยอดความรู้เดิม
ผู้นำ (Leader) เชื่อว่าการหยุดแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ จะนำไปสู่ความล้มเหลว ฉะนั้นจึงต้องเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาในด้านการทำงาน ส่วน ผู้จัดการ(Manager) มักจะศึกษาความรู้เดิมหรือสิ่งที่ผู้คนก่อนหน้า ทำแล้วประสบความสำเร็จ มาต่อยอดให้ดีกว่าเดิม
ผู้นำให้ความสำคัญกับคน ผู้จัดการให้ความสำคัญกับกระบวนการและโครงสร้าง
ผู้นำ (Leader) จะให้ความสำคัญกับผู้คน ซึ่งนั่นก็คือเพื่อร่วมงาน หรือลูกทีมของเขา มีความเชื่อใจในลูกทีม ให้อิสระการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ส่วนผู้จัดการ (Manager) จะให้ความสำคัญกับกระบวนการและโครงสร้างที่จำเป็น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการต่าง ๆ ที่ลูกทีมลงมือทำ จะมีโอกาสสำเร็จสูงที่สุด
ผู้นำให้ความสำคัญกับการโค้ช ผู้จัดการให้ความสำคัญกับการสั่งการ
ผู้นำ (Leader) รู้ว่าลูกทีมของเขามีความสามารถที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ โดยใช้แค่วิธีการการโค้ชว่า ควรจะใช้วิธีคิดอย่างไร แล้วปล่อยให้ลงมือทำ ส่วน ผู้จัดการ (Manager) จะเน้นการมอบหมายงานให้ลูกทีมทำ โดยเลือกวิธีการที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว เพื่อสั่งการให้ลูกทีมปฎิบัติตาม และทำจนสำเร็จในที่สุด
ผู้นำมีแฟนตัวยง ผู้จัดการมีพนักงาน
ผู้นำ (Leader) รู้วิธีการที่จะสร้างขวัญกำลังใจให้กับลูกทีม เพื่อผลักดันไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่จะสร้างพนักงานให้กลายเป็น “แฟนตัวยง” ที่พร้อมจะสู้เต็มที่เพื่อหัวหน้าของเขา ส่วน ผู้จัดการ (Manager) จะมีพนักงานที่คอยทำตามคำแนะนำอย่างเที่ยงตรง พร้อมปฎิบัติตามคำสั่งได้ตลอดเวลา
การเป็นผู้จัดการ (Manager) ที่ดี ต้องมีความเป็นผู้นำที่แท้จริง (Essential Leadership)
ในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากสภาะวิกฤติอยู่พอสมควร ทำให้ทุกองค์กรที่การผู้ที่มีศักยภาพในการนำองค์กรก้าวข้ามวิกฤติไปให้ได้ ซึ่งการขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการ (Manager) คุณจำเป็นต้องมีความ เป็นผู้นำที่แท้จริง อยู่ในตัวเองด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็น ผู้จัดการที่ดี
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.forbes.com/sites/williamarruda/2016/11/15/9-differences-between-being-a-leader-and-a-manager/?sh=2cb205e94609