10 กลยุทธ์เพิ่ม Productivity ในยุค “Headcount Freeze”
วิกฤตรอบด้าน เศรษฐกิจผันผวน ตลาดไม่แน่นอน ต่างทำให้หลายองค์กรในไทยตัดสินใจประกาศนโยบาย “หยุดจ้าง” (Headcount/Hiring Freeze) ต่อให้พนักงานคนสำคัญลาออก องค์กรก็ไม่รับคนเพิ่ม ทำให้คนที่อยู่ต้องแบกรับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งที่งานปัจจุบันก็มากพอแล้ว เสี่ยงปัญหากระบวนการทำงานสะดุด Productivity หยุดชะงัก ผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ แก้ไขด้วยการ เพิ่ม Productivity ในยุค Headcount Freeze
Headcount/Hiring Freeze คืออะไร
การงดรับจ้างพนักงาน ไม่รับพนักงานเพิ่มถึงแม้จะมีคนลาออกก็ตาม เพราะการจ้างพนักงานใหม่หนึ่งคน มีภาระค่าใช้จ่ายมากมายเต็มไปหมด ถึงแม้จะรับมาเพื่อทดแทนตำแหน่งเดิมก็ตาม
10 กลยุทธ์ เพิ่ม Productivity แม้ไม่มีพนักงานใหม่!
1. จัดลำดับและเร่งพัฒนาทักษะพนักงาน
จัดลำดับความสำคัญของทักษะใหม่ที่พนักงานต้องมี ทักษะใดควรเร่งพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นสนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะนั้น ๆ ผ่าน In-house Training หรือ Online Training จากนั้นมอบหมายโปรเจคงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎี 10 – 20- 70 ขยายขีดความสามารถพนักงาน ปรับตัวไว เท่าทันโลกการทำงานยุคใหม่
2. ดึงศักยภาพคนในองค์กรให้เต็มที่
วิเคราะห์ทักษะพนักงานที่มี อะไรคือจุดแข็ง อะไรคือสิ่งที่เขาเก่งและถนัด จากนั้นมอบหมายงานที่เหมาะสม Put the right man to the right jobs เพื่อปิดช่องโหว่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ป้องกันกระบวนการทำงานสะดุด
3. มอบความท้าทายใหม่
มอบโอกาสให้พนักงานได้ลองทำงานใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาทักษะ สร้างคว้ามก้าวหน้าทางสายงาน เป็นการรักษาพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่มีแรงจูงใจในการทำงานต่อเมื่อได้รับงานใหม่ ๆ หรือเห็นถึงความเติบโตทางสายอาชีพ
4. ยกระดับโปรแกรมการให้คำปรึกษา
ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว แต่การจับคู่พนักงานกับพี่เลี้ยง จะช่วยให้เกิดการสอนงาน เร่งให้พนักงานรู้ เข้าใจและลงมือทำงานใหม่ ๆ ได้ไวขึ้น ไม่ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เป็นการเรียนรู้อีกหนึ่งรูปแบบที่สำคัญ
5. ลดความไม่แน่นอน เพิ่มความชัดเจน
สื่อสารสถานะปัจจุบันองค์กรให้พนักงานทุกคนทราบทั่วกัน อย่าปล่อยให้พวกเขาพูดคุยกันเอง จนกลายเป็นข่าวลือหรือความกังวลเกินเหตุ อีกทั้งยังต้องสื่อสารแผนในอนาคต บรรเทาความกังวล มุ่งเน้นงานและการทำงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว
6. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน
กำหนดเป้าหมายร่วมกัน โดยผู้บริหาร หัวหน้างานและพนักงาน ต้องเข้าใจและเห็นภาพเป้าหมายเดียวกันอย่างชัดเจน ผ่านการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา Storytelling ที่ทรงพลังและทำให้ทุกคนเห็นทั้งประโยชน์องค์กรและประโยชน์ต่อตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจ จูงใจพนักงานให้ทำงานด้วยความทุ่มเท
7. ผู้นำเป็นตัวอย่าง
มุ่งมั่น อุทิศตน ยืดหยุ่น เป็นแบบอย่างให้พนักงาน ไม่มีอะไรสอนดีไปกว่าการลงมือทำให้เห็น ดั่งคติที่ว่า การลงมือทำมีค่ามากกว่าคำสอน เพียงแต่การลงมือทำนี้ไม่ใช่การแย่งงานลูกน้อง แค่แสดงพฤติกรรมที่คุณอยากให้พนักงานทำตาม เช่น มาเช้า ตั้งใจทำงาน พร้อมเปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่ ตั้งใจรับฟังและออกความเห็นอย่างสร้างสรรค์เสมอ เป็นต้น
8. ปรับเป้าหมายให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร
กำหนดเป้าหมายทีมให้ชัด ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร ทีมงานต้องทำอะไรบ้าง ความคาดหวังต่อทีมเป็นอย่างไร ทุกเป้าหมายที่ตั้ง จะต้องสามารถทำให้สำเร็จจริงได้และสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรด้วย
9. ส่งเสริมการทำงานข้ามแผนก
เมื่อทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ควรทำงานในทีมหรือข้ามแผนกให้ได้และมีประสิทธิภาพ
10. ตรวจสอบปริมาณงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี
ด้วยภาระงานที่เยอะมากขึ้น หัวหน้างานต้องกระจายงานอย่างเหมาะสม เป็นธรรมและถูกหัวถูกตัว หมั่นตรวจสอบปริมาณงานที่ทีมงานได้รับ ป้องกันพนักงาน burnout รักษาสุขภาพ จิตใจ
ลองเปลี่ยนมุมมอง จากการจ้างงานภายนอก มาพัฒนาศักยภาพพนักงานที่มี เร่ง เพิ่ม Productivity ในยุค Headcount Freeze คนน้อยแต่คุณภาพร้อยเปอร์เซ็นต์
หากคุณคือ HR หรือหัวหน้างานที่กำลังเผชิญกับวิกฤต Headcount Freeze หลักสูตรการเพิ่ม Productivity จาก Beyond Training ออกแบบเพื่อช่วยให้คุณพัฒนาทักษะและรับรองว่าคุณจะนำหน้าอยู่เสมอสนใจหลักสูตร คลิก!