ผลวิจัยจาก Harvard Business Review ระบุชัด! ผลลัพธ์อันทรงประสิทธิภาพในองค์กร 80% มักมาจากกลุ่มคนเก่งหรือ Talent แค่เพียง 20% ขององค์กรเท่านั้น
สถิติดังกล่าวคงเป็นเครื่องการันตีว่า องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาและรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้ รวมทั้งการลงทุนค้นหาพนักงานใหม่ที่ใช่ตั้งแต่วันแรก ตรงปก เก่งจริง มีทักษะและสามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เร็วและสอดคล้องเป็นอย่างดี
แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงเวลาแล้วที่แต่ละองค์กรจะต้องกลับมาทบทวนอย่างจริงจังว่า จะทำอย่างไรให้ “พนักงานคนสำคัญ” ยังคงอยู่กับองค์กรได้นานที่สุดพร้อมสร้างผลลัพธ์ใหม่ ๆ ให้ได้ในทุกสถานการณ์
- Talent Management มุ่งเน้นไปที่การดึงดูดความสนใจ พัฒนา รักษากลุ่มคนเก่งและวางแผนสืบทอดตำแหน่ง
- Impact ในการทำ Talent Management ในองค์กร คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่ม Productivity ช่วยองค์กรบรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและแผนในอนาคต รวมทั้งสร้างแนวทางการพัฒนาผู้นำยุคใหม่ที่แข็งแกร่ง
- แนวทางการนำ Talent Management ไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ การสร้างกลยุทธ์ ใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และใช้ระบบ PMS (Performance Management System)
ทำความเข้าใจ Talent Management
Talent Management มุ่งเน้นไปที่การดึงดูดความสนใจของผู้สมัครงานที่เป็นคนเก่งให้เข้าร่วมทำงานกับองค์กร พัฒนาให้เขาเก่งขึ้นอย่างต่อเนื่องและรักษาให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่คู่องค์กรในระยะยาว มีความจงรักภักดีต่อองค์กร เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
4 องค์ประกอบของ Talent Management
ดึงดูดกลุ่มคนเก่ง:
ในยุคแห่ง Talent War ที่การแข่งขันแย่งชิงตัวคนเก่งทวีความรุนแรง องค์กรต้องสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เผยวิสัยทัศน์ เป้าหมาย นโยบาย สวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนเก่งที่อาจเป็นคนยุคใหม่หรือคนวัยเก๋า นำเสนอแพ็กเกจผลตอบแทนที่ดึงดูดใจ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานยืดหยุ่น เน้นผลลัพธ์แต่มีความสุข
การพัฒนากลุ่มคนเก่ง:
การให้โอกาสพนักงานในการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเติบโตในสายงาน ช่วยให้พวกเขามีความเชี่ยวชาญและพร้อมรับบทบาทความเป็นผู้นำแห่งอนาคตหรือพัฒนาเป็นสาย Speacialist ที่ไม่ต้องมีทีมงานแต่ชำนาญในทักษะตนเองยิ่งขึ้นไป
การรักษากลุ่มคนเก่ง:
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก มีความยืดหยุ่น มีความสุข เป็นเซฟโซน สามารถแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ เนื้องานท้าทายอยู่เสมอไม่จำเจ และสนับสนุน ส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและผูกพันกับองค์กร
การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง:
การเตรียมผู้นำรุ่นต่อไป ช่วยให้มั่นใจว่าองค์กรจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น
Impact ของ Talent Management ที่มีต่อองค์กร
เพิ่มประสิทธิภาพและ Productivity ในองค์กร:
พนักงานที่มีศักยภาพและมีความสามารถสูงจะช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์และบรรลุเป้าหมายขององค์กรทั้งในปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคต
ส่งเสริมนวัตกรรม:
ทีมที่มีความหลากหลายและมีความสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของไอเดียใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ เพียงแต่องค์กรต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเชื่อมั่นในกันและกัน เคารพความเห็นต่าง ทุกคนสามารถแสดงความเห็นที่สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
สร้างแนวทางการเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง:
การพัฒนากลุ่มคนเก่งที่มีศักยภาพ ช่วยให้องค์กรพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต อาจพัฒนาต่อยอดสู่ผู้นำที่ได้รับการ Grooming มาอย่างดี เมื่อขึ้นคุมทีมย่อมสามารถบริหารผลงานผ่านทีมได้ โดยที่ลูกน้องไม่ลาออก
แนวทางการนำ Talent Management ไปใช้
1. กำหนดวัตถุประสงค์:
กำหนดเป้าหมายการบริหารกลุ่มคนเก่ง End Results องค์กรต้องการอะไร และแนวทางที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรเป็นอย่างไร เพื่อให้คนเก่งพัฒนาออกมาแล้วสอดรับกับแผนขององค์กร ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้า
2. ระบุ วิเคราะห์ ประเมินกลุ่มคนเก่ง:
สร้าง Talent Pool ด้วยการวิเคราะห์และประเมิน ผ่านเครื่องมือสากล เช่น 9 boxes Psychological Assessment เป็นต้น เพื่อให้ได้ตรงตามเป้า
3. พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย:
วิเคราะห์จุดที่ต้องพัฒนา ออกแบบการพัฒนาส่วนบุคคลและวางแผนในระดับโปรแกรมระยะยาว
4. รักษาและสร้างความผูกพัน:
สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ที่จูงใจกลุ่มคนเก่ง รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมการเติบโตในหน้าที่การงาน
Talent Management: กุญแจสู่อนาคตที่สดใส
หากหัวหน้างาน HR และองค์กร ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน Talent Management สามารถบริหารกลุ่มคนเก่งในองค์กรได้อย่างมีระสิทธิภาพ ผลลัพธ์ไม่ใช่แค่ช่วยให้องค์กรสร้างพนักงานที่มีความยืดหยุ่น มีความสามารถ แต่จะยกระดับพวกเขาสู่ผู้นำยุคใหม่ที่พร้อมรับมือกับความท้าทาย ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จในอนาคต
มาร่วมกันสร้างอนาคตขององค์กร ผ่านการทำ Talent Management ที่มีประสิทธิภาพ