ความอยากรู้อยากเห็น กลายมาเป็นลักษณะนิสัยที่คนส่วนใหญ่อาจจะมองในแง่ลบ ถ้านำไปใช้ไม่ถูกกาละเทศะ หรือสร้างความไม่สบายใจให้ผู้อื่น แต่ในบทความนี้จะมา กล่าวถึงคำว่า อยากรู้อยากเห็น ในแง่มุมของ “ชุดทักษะ”
Becki Saltzman เป็นผู้สอนอยู่ใน LinkedIn Learning และผู้ก่อตั้ง The Applied Curiosity Lab ได้กล่าวถึงความสำคัญของชุดทักษะที่เรียกว่า Curiosity หรือความอยากรู้อยากเห็น เป็นทักษะเริ่มต้นของคนทำงานในองค์กรยุคใหม่ที่ต้องมีติดตัว เพราะปัจจุบันโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง คุณต้องละทิ้งข้อมูลความรู้เดิมที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว และหันมาเรียนรู้ หาคำตอบกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งจะเรียนรู้ให้เกิดผล เราจะต้องมีชุดทักษะ Curiousity ที่อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งอย่างรอบตัว เพื่อผลักดันตนเองให้กลายเป็นผู้ รู้เยอะ ในองค์กรธุรกิจยุคใหม่
Applied Curiosity
ความอยากรู้ประยุกต์ Becki Saltzman ผู้ก่อตั้ง Applied Curiosity Lab ได้พัฒนาทีมงานในองค์กรของเขา ให้มีชุดทักษะ Curiosity เพื่อให้เกิดความอยากรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาตัวเขาเองได้ และองค์กรของไทยเรา ก็ควรที่จะปลูกฝังชุดทักษะนี้ให้กับพนักงานเพื่อให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปยังรุ่นสู่รุ่น
สิ่งที่องค์กรควรสร้างให้แก่พนักงาน
- เสริมสร้างชุดทักษะความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ของพนักงานให้แข็งแรง
- ใช้ความอยากรู้อยากเห็นมาประยุกต์ เพื่อถามคำถามที่ฉลาดขึ้น หรือถามเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
How Getting Curious Helps You Achieve Everything
การมีทักษะ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) จะช่วยให้พนักงานในองค์กรเปิดใจรับความรู้ใหม่ ๆ ได้ เนื่องจากเขามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ อยากที่จะรู้ให้เยอะที่สุด เพื่อพัฒนาตนเองกลายเป็นคนที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น Diana Kander วิทยากรและนักเขียน ที่ผ่านประสบการณ์ฝึกอบรมให้องค์กรระดับโลกจำนวนมาก ได้ให้ความเห็นว่า เมื่อพนักงานมีทักษะ Curiousity เขามักอยากที่จะเรียนรู้มุมมองใหม่มากกว่าในบทบาทการเป็นพนักงาน นั่นก็คือ การคิดแบบผู้ประกอบการหรือนักลงทุน เมื่อเขามีความคิดเช่นนั้น จะทำให้เขาอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไกลตัวออกไป ขยายขอบเขตความรู้ออกไปกว้างขึ้น และสุดท้ายจะทำให้เขากลายเป็นพนักงานที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับองค์กร
Using Questions to Foster Critical Thinking and Curiosity
การมีทักษะ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) จะช่วยให้พนักงานในองค์กรเปิดใจรับความรู้ใหม่ ๆ ได้ เนื่องจากเขามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ อยากที่จะรู้ให้เยอะที่สุด เพื่อพัฒนาตนเองกลายเป็นคนที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น Diana Kander วิทยากรและนักเขียน ที่ผ่านประสบการณ์ฝึกอบรมให้องค์กรระดับโลกจำนวนมาก ได้ให้ความเห็นว่า เมื่อพนักงานมีทักษะ Curiousity เขามักอยากที่จะเรียนรู้มุมมองใหม่มากกว่าในบทบาทการเป็นพนักงาน นั่นก็คือ การคิดแบบผู้ประกอบการหรือนักลงทุน เมื่อเขามีความคิดเช่นนั้น จะทำให้เขาอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไกลตัวออกไป ขยายขอบเขตความรู้ออกไปกว้างขึ้น และสุดท้ายจะทำให้เขากลายเป็นพนักงานที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับองค์กร
E-Learning ตัวช่วยในพัฒนาศักยภาพพนักงาน เพื่อก้าวสู่ธุรกิจยุคใหม่
เมื่อองค์กรเริ่มต้นกระบวนการปลูกฝังชุดทักษะ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ที่ดีให้กับพนักงานได้แล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องเร่งพัฒนา คือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความรู้ ฝ่ายผู้บริหาร หรือ ทีม HR จะสามารถพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานด้วยการฝึกอบรมเรียนรู้ หลักสูตรออนไลน์หรือ E-Learning รูปแบบการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพ และเติมเต็มทักษะที่จำเป็นให้กับพนักงาน ได้นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในยุค NEXT NORMAL ที่กำลังจะมาถึงนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.linkedin.com/business/learning/blog/top-skills-and-courses/the-trending-skill-you-didn-t-know-you-needed-or-future-proof