สมองของมนุษย์นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ Memory Card ที่อยู่ใน Smartphone คือ การมีขีดจำกัดของความจำ มนุษย์เราผ่านประสบการณ์มามากมาย มีทั้งเหตุการณ์ที่จำได้ขึ้นใจ และก็มีบ้างที่หลงลืมไปตามกาลเวลา โดยที่ไม่สามารถควบคุมถึงสิ่งที่อยากจดจำ หรือต้องการลืมได้ ต้องอิงไปตามกลไกของสมองแบบอัตโนมัติ
Hermann Ebbinghaus นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้สร้างงานวิจัยด้านกลไกความจำ ที่ว่าด้วยเรื่องของ “เส้นกราฟการลืม (Forgetting Curve)” โดยผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลใหม่ ๆ ที่พึ่งได้เรียนรู้มาเกินกว่าครึ่ง จะถูกลืมไปภายในหนึ่งชั่วโมงหลังการเรียน และจะเหลือเพียง 30% ของข้อมูลที่จำได้หลังผ่านไป 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดที่เกินความสามารถของมนุษย์ ซึ่งก็คือการคิดค้นเทคนิค Memorize Reputation ที่ช่วยให้สามารถจดจำข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น โดยจะแบ่งออกเป็น เทคนิคการจดจำแค่ระยะเวลาสั้น ๆ และ เทคนิคการจดจำในระยะยาว
Memorize Reputation
เทคนิคการจดจำ ระยะเวลาสั้น เหมาะสำหรับการจดจำเพื่อใช้การแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ และอาจจะลืมข้อมูลนั้น ๆ ไปในอนาคต
- 1st repetition : ทบทวนซ้ำทันที หลังจากที่ได้เรียนมา
- 2nd repetition : ทบทวนซ้ำหลังจากผ่านการทบทวนในครั้งแรก ไปประมาณ 15-20 นาที โดยระหว่างนั้น ก็หากิจกรรมที่ผ่อนคลายสมองไปก่อน
- 3rd repetition : กลับมาทบทวนซ้ำอีกครั้ง หลังจากการเรียนผ่านไป 6-8 ชั่วโมง
- 4th repetition : ทบทวนซ้ำครั้งสุดท้าย หลังจาก 24 ชั่วโมงหลังจากการเรียน
เทคนิคการจำ ระยะเวลานาน วิธีการนี้ เหมาะกับข้อมูลที่เราต้องการจำให้ได้นานที่สุด ฉะนั้น ช่วงเวลาการจดจำ จำเป็นต้องขยายกว้างมากขึ้น
- 1st repetition : ทบทวนซ้ำทันที หลังจากที่ได้เรียนมา
- 2nd repetition : ทบทวนซ้ำหลังจากผ่านการทบทวนในครั้งแรก ไปประมาณ 20-30 นาที
- 3rd repetition : กลับมาทบทวนซ้ำ หลังจากผ่านการเรียนไป 1 วัน
- 4th repetition : ทบทวนซ้ำ หลังผ่านการเรียนไป 2-3 สัปดาห์
- 5th repetition รอบสุดท้ายจะกลับมาทบทวนซ้ำ หลังผ่านการเรียนไป 2-3 เดือน
เคล็ดลับ วิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คุณจดจำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากข้อมูลของ Olivia McGarry ผู้ที่เป็น Content Marketer ของ LearnUpon ได้เผยถึงวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คุณสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียนรู้มา ได้ดียิ่งขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อ ดังต่อไปนี้
Make it accessible ทำให้การเรียนรู้เข้าถึงง่าย
การหาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สามารถเรียนได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพราะคุณสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่คุณว่าง รวมถึงการเก็บข้อมูล และเรียนซ้ำได้อย่างง่ายดาย
Spaced learning การให้พื้นที่กับการเรียนรู้
วิธีการที่จะช่วยให้คุณป้องกัน Forgetting Curve หรือ เส้นกราฟการลืม ได้ คือ การเว้นระยะเวลา และคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมในการเรียนรู้ เช่น หากคุณอาจจะเลือกเนื้อหาหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้น ๆ (Micro Learning) เพื่อย่อยความรู้ก่อน หลังจากนั้น ก็เว้นระยะเวลา เพื่อให้สมองได้พักผ่อน แล้วมาเรียนรู้หลักสูตรที่มีความยาวมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งการให้พื้นที่ของระยะเวลาการเรียนรู้ จะช่วยให้คุณสามารถจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
Create a learning culture สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้
การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการสร้างการจดจำให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวเองอยู่เสมอ หรือการเรียนรู้ในรูปแบบองค์กรผ่านระบบ LMS การสร้างแผนพัฒนาทักษะให้กับพนักงานในช่วงปี ซึ่งหากทำจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ จะช่วยผู้เรียนคุ้นชินและจดจำข้อมูลที่เรียนรู้ไปได้อย่างดี เพราะสมองได้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.learnupon.com/blog/ebbinghaus-forgetting-curve , https://www.interboosters.com