ไม่เสี่ยง ระวังโตช้า ! 3 แนวทางที่ช่วยให้พนักงานองค์กร “กล้าเสี่ยง” ที่จะลงมือทำ โดยไม่กลัวความล้มเหลว

Table of Contents

ในโลกยุคปัจจุบันนี้ เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าองค์กรใดต่างก็ต้องเร่ง “โชว์ของ” ที่มีออกมาให้หมด เพื่อเอาตัวรอดในสนามรบธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ฉะนั้น บุคลากรจะต้อง “ เลือกเสี่ยง ” ลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ หรือออกไอเดียที่ช่วยสร้างนวัตกรรมองค์กรได้ เป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญและเปิดทางให้บุคลากร กล้าคิดหรือลงมือทำ แม้มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวมากน้อยเพียงใดก็ตาม

ความ “ไม่กล้าที่จะเสี่ยง” กลายมาเป็นปัญหาของพนักงานระดับทั่วไป (Frontline Employee) เพราะว่ากลัวผลลัพธ์ที่ตามมาจากความล้มเหลว ทำให้ไม่มีใครกล้าคิด หรือลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลให้องค์กรเติบโตช้ากว่าคู่แข่งทางธุรกิจอื่นในธุรกิจยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

นิตรสารธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ในหัวข้อ ​​If You Want Your People To Be Less Afraid Of Taking Risks, Try Reducing The Cost Of Failure ได้เผยแพร่ข้อมูล Research ไว้น่าสนใจ ในเรื่องของการทำแบบทดสอบออนไลน์ในหัวข้อ How Do You Personally Feel About Change? กับคนมากกว่า 10,000 คน เกี่ยวกับเรื่อง ความกล้าที่จะเสี่ยงลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ในองค์กร ผลสำรวจพบว่า มีแค่คนจำนวน 28% ที่กล้าเสี่ยงลงมือทำโดยไม่กลัวความล้มเหลว แต่นอกเหนือจากนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานของเขาว่าสามารถเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด อย่างกรณี ในระดับผู้บริหารมีถึง 40 % ที่พร้อมเสี่ยง แต่หากเป็นระดับพนักงานทั่วไปมีเพียงแค่ 24% เท่านั้น ที่เต็มใจเสี่ยงทำสิ่งใหม่ ๆ ฉะนั้นแล้ว เห็นได้ว่า ยังมีพนักงานจำนวนน้อยมากที่ยังขาด “ความกล้าเสี่ยง” จึงส่งผลให้องค์กรอาจจะเติบโตช้า เพราะขาดไอเดียจากบุคลากรที่จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ต่อธุรกิจ แล้วจะทำอย่างไร ให้พนักงานเปลี่ยนตนเองไปสู่ทัศนคติแห่งการเติบโตได้ ?

3 แนวทาง ที่ช่วยให้พนักงาน “กล้าเสี่ยง ” ที่จะลงมือทำ โดยไม่กลัวความล้มเหลว

แนวทางที่ 1 : ยินดีกับความกล้าเสี่ยง แม้ผลลัพธ์จะล้มเหลว

ประการแรก แม้ว่าผู้นำส่วนใหญ่อาจรู้สึกผิดหวัง หากผลลัพธ์จากการพยายามของพนักงานเกิดความล้มเหลว แต่ก็ควรที่จะแสดงความยินดีกับพนักงานที่ยอมเสี่ยง เพราะนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ตรงที่สุด ในการช่วยการเสริมแรงเชิงบวก (Empowerment) ที่ทรงพลังอย่างมาก ดังนั้น จงให้คุณค่ากับพนักงานที่รับความเสี่ยงได้ดี และกล่าวชื่นชมเขาเหล่านั้น ในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อให้พนักงานคนอื่นมองเป็น Role Model และปฏิบัติตาม

แนวทางที่ 2 : ผู้นำต้องเผย “ จุดอ่อนองค์กร ” ให้พนักงานรับรู้

หลายองค์กรมีผู้นำที่มีอีโก้ค่อนข้างสูง มักจะมองว่าไม่มีใครที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาองค์กรได้ดีกว่าเขา จึงปิดกั้นไอเดียของพนักงานระดับล่าง ซึ่งเป็นแนวทางปฎิบัติที่ผิดหลักกับการทำธุรกิจในยุคใหม่นี้ ผู้นำควรโน้มลงมาเพื่อบอกกล่าว จุดอ่อนของตนเอง รวมถึงองค์กร เพื่อเปิดใจรับฟังความเห็นพนักงาน และปล่อยให้เขาลงมือทำจริง เพื่อจะได้ดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และพัฒนาต่อไปด้วยกันทั้งองค์กร

แนวทางที่ 3 : psychological safety สร้างความปลอดภัยทางใจให้กับพนักงาน

psychological safety เป็นหลักความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กรที่ต้องทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์จากความผิดพลาด แนวทางดังกล่าวนี้ สร้างความสำเร็จมาแล้วให้กับองค์กรของ Google ที่เปิดให้พนักงานได้ปลดปล่อยไอเดีย และลงมือทำอย่างไร้ความกังวลถึงปัญหาใด ๆ ก็ตาม ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิด “ความกล้า” ที่จะลงมือทำเพื่อที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตไปได้ไกล ในธุรกิจที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นปัจจุบัน

อ้างอิงเนื้อหาจาก : https://www.forbes.com/sites/markmurphy/2019/08/13/if-you-want-your-people-to-be-less-afraid-of-taking-risks-try-reducing-the-cost-of-failure/?sh=1fb79eda37cf , หลักสูตร Changing For Growth

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
องค์กรของคุณมีผู้นำระดับกลาง Frontline (Supervisor/First Time Manager/Manager) ประมาณกี่ท่าน
ท่านมีหลักสูตรพัฒนา Frontline Leader หรือผู้นำระดับกลางหรือไม่

สนใจเป็นส่วนหนึ่งของทีมบียอนด์ เทรนนิ่ง

    หากคุณมีความสนใจและต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับเรา คุณสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้ทางทีมงานพิจารณาแล้วตอบกลับคุณโดยไวที่สุด

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
Full Name

ติดต่อรับคำปรึกษา

หากท่านมีความสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักสูตรของทางบริษัท Beyond Training ท่านสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบฟอร์มด้านล่างนี้ ทางบริษัทขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้บริการฝึกอบรมกับท่าน

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
รูปแบบการฝึกอบรมที่ต้องการ
ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรม
ระดับของพนักงานที่ต้องการอบรม
งบประมาณฝึกอบรมต่อวัน