ในยุคที่โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างฉับพลัน ธุรกิจหลายประเภทต้องปิดตัวลง หรือต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ในเรื่องการทำงานของคนยุคใหม่ ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของธุรกิจ และ แนวโน้มของตลาดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า Agile ที่แปลความหมายตรงตัวว่า รวดเร็ว แต่ ณ ที่นี้ ในเชิงธุรกิจ ไม่ได้หมายถึง การทำงานที่รวดเร็ว แต่มันคือ ความรวดเร็วในการปรับตัวและเรียนรู้
ทำไม Agile Mindset ถึงมีความสำคัญขนาดนั้น ต่อการทำงานยุคปัจจุบัน ? สิ่งแรกที่คุณนึกถึงคืออะไร หากจะให้คำนิยามของ โลกการทำงานในปัจจุบัน แน่นอนว่าคือ ความเปลี่ยนแปลง ภายหลังที่โลกของเราถูกคุกคามด้วยไวรัส Covid-19 องค์กรทั่วโลกต้องเริ่มเรียนรู้การทำงานแบบทางไกล ( Remote Working ) ซึ่งแน่นอนว่า มันได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงานไปอย่างมากเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาว่าทำไม คนทำงานถึงต้องเรียนรู้การมี Agile Mindset
เจาะความหมายที่แท้จริงของ “ agile mindset ” ?
คำว่า Agile Mindset เป็นชุดความคิดที่สร้างวิธีการและกรอบการทำงานที่สร้างและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งองค์กรที่มีบุคลากรปรับตัวให้เข้ากับแนวปฏิบัติแบบ Agile จะสามารถติดตามเทรนด์ของตลาดที่ขยับตัวและเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การมี agile mindset คือการให้ความสำคัญกับการปรับตัวให้เข้ากับ ความเปลี่ยนแปลง และการปรับปรุง โดยแนวความคิดแบบ Agile จะให้ความสำคัญกับ การแสดงออกถึงทักษะการแก้ปัญหา และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อมาต่อสู้กับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้ หากองค์กรได้พนักงานที่มี Agile Mindset เข้ามาทำงาน ก็จะช่วยให้องค์กรพัฒนาต่อไปได้ไกลและสามารถต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปสู่ความสำเร็จได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์วิกฤติความเปลี่ยนแปลงเช่นปัจจุบันก็ตาม
ส่วนหนึ่งจากเนื้อหา หลักสูตร Agile Mindset ของ Beyond Training ได้ให้เทคนิคที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานยุคใหม่อย่าง Agile Way Of Working ที่แนะนำในด้านของการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานสำหรับองค์กรยุคใหม่ โดยการใช้หลัก Agile เข้ามาประยุกต์ใช้ ดังนี้
Agile way of working
1. การแบ่งรอบการดำเนินงานเป็นระยะเวลา สั้นๆ (Sprint Planning)
ส่งมอบงานบางส่วน โดยไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าจะเสร็จ เพื่อตอบสนองธุรกิจที่มีการแข่งขันที่สูง และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
2. การใช้ตารางการทำงาน (Scrumban)
โดยแบ่งสถานะการทำงานออกเป็น To-Do , Doing และ Done เพื่อให้ทุกคนในทีมได้เห็นกระบวนการทำงานทั้งหมดร่วมกัน
3. การมีประชุมสั้นๆ ก่อนเริ่มงานทุกวัน (Stand up Daily Meeting)
เพื่อบอกกับทุกคนว่าวันนี้จะทำอะไร ติดปัญหาตรงไหน และต้องแก้ไขปัญหาหรือต้องเข้าไปช่วยเหลืออย่างไร
4. การรีวิวและทดสอบงาน (Sprint Review)
เป็นการทดสอบว่างานเสร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากไม่จะได้ช่วยกันหาว่าเกิดปัญหาอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างรวดเร็วอย่างไร
5. การวิเคราะห์การทำงานเพื่อพัฒนา (Retrospective)
เป็นการสรุปแนวทางการทำงานที่ผ่านมา สิ่งใดที่ทำออกมาแล้วดี ปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขอย่างไร รวมไปถึงการหาวิธีการทำงานใหม่ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ในการทำงาน Sprint ครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ได้มีเนื้อหาที่น่าสนใจจากบทความ What Is Agile Project Management? And Can It Help Your Business? ที่นิตยสารธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ได้นำมาลง โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ค่านิยม (Core Value ) ที่ควรมี สำหรับการดูแลโครงการด้วยแนวคิดแบบ Agile (Agile ’Project Management) ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรที่มีตำแหน่งระดับหัวหน้างานภายในองค์กร ที่ควรเรียนรู้ติดตัวไว้เป็นแนวทางเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนโครงการในองค์กรของตนเอง
4 Core Values of Agile Project Managemen
1. Individuals and interactions over processes and tools
ให้ความสำคัญในเรื่อง คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน มากกว่าการทำตามขั้นตอนและเครื่องมือ
2. Working software over comprehensive documentation
ให้ความสำคัญในเรื่อง ซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้งานได้จริง มากกว่าเอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์
3. Customer collaboration over contract negotiation
ห้ความสำคัญในเรื่องร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองให้เป็นไปตามสัญญา
4. Responding to change over following a plan
ให้ความสำคัญในเรื่อง การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าการทำตามแผนที่วางไว้
อ้างอิงข้อมูลจาก : หลักสูตร Agile mindset , https://www.forbes.com/advisor/business/what-is-agile-project-management/