ภายหลังจากสภาะวิกฤติไวรัส Covid-19 ทำให้เกิดพิษเศรษฐกิจรุนแรง หลายองค์กรไม่สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ พนักงานจำนวนมากต้องเผชิญกับสภาวะว่างงาน ส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ทั้งขาดรายได้เลี้ยงชีพ หางานใหม่ยากขึ้น หมดกำลังใจสู้ต่อ เป็นต้น แม้กระทั่งผู้ที่ยังอยู่ดี มีงานทำ ก็เริ่มเกิดความกังวลเกี่ยวกับอนาคตองค์กรของตนเอง
ในความกังวลเหล่านี้ คุณในฐานะพนักงานคนหนึ่งขององค์กร สามารถทำอะไรได้บ้าง ที่จะช่วยตัวเองและองค์กรรอดพ้นจากวิกฤติเหล่านี้ไปได้ บทความนี้พามาทำความรู้จัก Entreprenuer Mindset ทัศนคติแห่งการเป็นผู้ประกอบการ ที่พนักงานองค์กรต้องมี เพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาต่อไปได้ รวมถึงตัวคุณเองก็จะไม่มีวันล้มเหลวในโลกการทำงาน ไม่ว่าจะทำอาชีพใด
นิตยสาร Forbes ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจผ่านหัวข้อ An Entrepreneurial Mindset: What Is It And How Can You Build It? เคล็ดลับการสร้างทัศนคติของแห่งการเป็นผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งของการสร้าง Growth Mindset ของพนักงาน เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จสวนวิกฤติที่ทั่วโลกเผชิญอยู่
Read every day
การเป็นพนักงานที่คอยฟังแต่คำสั่ง ไม่อยากที่จะศึกษาความรู้นอกเหนือจากขอบเขตงานที่ตัวเองรับผิดชอบ ถือเป็นอุปสรรคต่อโลกการทำงานยุคสมัยนี้เป็นอย่างมาก คุณจะไม่สามารถเติบโตได้โดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่น ดังนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ หมั่นศึกษาเรียนรู้เรื่องราวรอบตัว อ่านข่าวเกี่ยวกับความเป็นไปทางธุรกิจ ศึกษาด้านการเงิน ไม่เสพสื่อที่ขาดความน่าเชื่อถือ และไม่หลงทางไปกับข้อมูลที่เป็นเท็จ และนี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางสร้าง Entreprenuer Mindset ที่คุณจะสามารถขยายขอบความรู้ เป็นที่ปรึกษา ออกความเห็น และหาแนวทางช่วยเหลือองค์กรได้ เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติ
Don’t be afraid to face your fears
“อย่ากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา” ในการทำงานองค์กรยุคใหม่คุณต้องละทิ้งความคิดที่ว่า ปัญหาระดับองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กรที่จะแก้ไขเพียงครั้งเดียว ถึงแม้คุณจะเป็นพนักงานแค่ระดับปฎิบัติการณ์ทั่วไป แต่อย่าดูถูกทักษะและความคิดตัวเอง ลองพยายามที่จะออกความเห็นเพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร ไม่มีปัญหาใดใหญ่เกินตัวเรา คิดเสียว่าตนเอง คือ หนึ่งในคนสำคัญที่องค์กรต้องพึ่งพา
Set challenging goals
สร้างเป้าหมายที่ท้าทาย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำได้หรือไม่ การมีเป้าหมายในการทำงานจะช่วยให้เรามีกระบวนการทำงานในแต่ละวันที่มีประสิทธิภาพ การตั้งเป้าหมายให้สูง และ ทำเต็มที่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น เป็นทัศนคติของผู้ที่ต้องการเติบโต และ ก้าวหน้าในอาชีพ เพราะหากเราตั้งเป้าหมายที่ง่ายและไม่ท้าทาย แม้จะทำสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้สร้างคุณค่าให้องค์กรมากเพียงพอ
Redefine a failure
ทำความเข้าใจกับคำว่า “ล้มเหลว” เสียใหม่ ในการทำงานยุคใหม่ คุณต้องละทิ้งความกลัวที่จะล้มเหลวออกไป เพราะถ้ายังมีสิ่งเหล่านี้ติดอยู่ จะส่งผลให้คุณไม่สามารถก้าวออกมาทำสิ่งใหม่ ๆ ได้เลย แม้ว่าบางครั้งคุณจะต้องเผชิญกับความล้มเหลว แต่เชื่อเถอะว่า การมองย้อนกลับไปแล้วผิดหวังกับสิ่งที่คุณทำพลาด ย่อมดีกว่าการเสียใจในสิ่งที่คุณไม่เคยได้ แม้แต่ลงมือทำ
วิธีคิดแบบพนักงานบริษัทหัวใจผู้ประกอบการ (Corporate Entrepreneurship Mindset)
- ตั้งเป้าทำงานเกินเงินเดือน (do more than you get paid for)
- ทำงานโดยเน้นที่ผลลัพธ์ของงาน (Result base) “Result or Reason”
- Resource management (Effective & Effcient) “ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด”
- คิดแบบผู้ผลิต (Producer)
- เป็นนักหาทรัพยากรเพิ่มเติม (Resourceful person) “Collaborative Networking”
- Muti skills Person (Renaissance man) Not Multi tasking
- Self Learning , Lifelong Learning
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.forbes.com/sites/forbesbusinesscouncil/2021/12/14/an-entrepreneurial-mindset-what-is-it-and-how-can-you-build-it/?sh=4a3651d53036&fbclid=IwAR2TPfY-_bk676krRYevVeq-HRsmQk_j5wq_DOCT0HcY_1PjDXvw3sIJ1k8