5 เคล็ดลับ เลือกโปรแกรมพัฒนา Middle Manager สู่ People Manager ที่องค์กรต้องการ

วิกฤตศรัทธาในบทบาทของ Middle Manager ในช่วงเวลาที่องค์กรต้องเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจครั้งใหญ่ ผู้จัดการระดับกลางหรือ Middle Manager มักเป็นกลุ่มแรกที่ถูกพิจารณาให้ออกจากองค์กร ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก จนทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมตำแหน่งที่ควรจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร กลับกลายเป็น “ตัวเลือกแรก” ที่ถูกตัดออกเมื่อองค์กรต้องการลดต้นทุน จากผลการวิจัยล่าสุดโดย McKinsey บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า แม้ผู้จัดการระดับกลางจะมีบทบาทเชิงกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนองค์กร แต่องค์กรส่วนใหญ่กลับละเลยการลงทุนพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มคนเหล่านี้ ผู้จัดการระดับกลางจำนวนมากถูกมองว่าเป็นเพียง “คนกลาง” ที่ทำหน้าที่ส่งต่อคำสั่งและงานธุรการตามที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ผู้บริหารระดับสูงจำนวนไม่น้อยตัดสินใจลดทอนชั้นของผู้จัดการระดับกลางในการปรับโครงสร้างองค์กร หรือเลือกที่จะปลดพนักงานกลุ่มนี้เป็นอันดับแรกเมื่อเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต ภาพลักษณ์ที่ถูกบิดเบือน: Middle Manager ในฐานะ “คนกลาง” ไม่ใช่ “โซ่คล้องใจลูกทีม” หากพิจารณาโครงสร้างขององค์กรทั่วไป ผู้จัดการระดับกลางอยู่ในตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาเป็นตัวเชื่อมระหว่างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงกับการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ภาพลักษณ์ของผู้จัดการระดับกลางกลับถูกบิดเบือนให้เป็นเพียง “คนกลาง” ที่ทำหน้าที่ส่งต่อคำสั่งและควบคุมการทำงานของลูกน้องเท่านั้น มุมมองที่คับแคบนี้ทำให้องค์กรมองข้ามบทบาทสำคัญของผู้จัดการระดับกลางในฐานะ “โซ่คล้องใจลูกทีม” ที่ไม่เพียงแต่กำกับดูแลการทำงาน แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุน และพัฒนาทีมงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข การมองข้ามบทบาทนี้ไม่เพียงแต่ทำให้องค์กรสูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของผู้จัดการระดับกลางอย่างเต็มที่ แต่ยังทำให้พวกเขากลายเป็นเป้าหมายแรกในการปรับลดขนาดองค์กรเมื่อเกิดวิกฤต สถานการณ์ที่เปราะบาง: อยู่ตรงกลางความกดดันจากทุกทิศทาง ตำแหน่งของผู้จัดการระดับกลางมีความเปราะบางอย่างยิ่ง พวกเขาต้องรับมือกับความคาดหวังและความกดดันจากหลายฝ่าย : บทบาทที่มากกว่าคนกลาง: Middle […]
คู่มือหัวหน้าระดับกลาง บริหารลูกทีมที่มี “ความหลากหลาย” (Diversity) ให้ทำงานร่วมกันง่ายขึ้น

ความหลากหลาย (Diversity) ในบริบทของการทำงานจึงกลายเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้จัดการทีม (People Manager) ในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ที่เห็นได้ชัดระหว่างกลุ่ม Baby Boomers, Gen X, Millennials และ Gen Z ความหลากหลายทางเพศ (Gender Diversity) ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ชายและหญิงอีกต่อไป หรือแม้แต่การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการกำลังคน และหัวหน้าระดับกลาง มีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมของการยอมรับและการมีส่วนร่วมในทีมที่มีความหลากหลายเช่นนี้ การเปิดพื้นที่ให้ทุกเสียงได้รับการรับฟัง Inclusive Leade หนึ่งในพฤติกรรมที่สำคัญของ Inclusive Leader คือการตั้งใจสร้างโอกาสให้ทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ในการประชุม พวกเขาจะเริ่มต้นด้วยคำถามปลายเปิดที่เชิญชวนให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น “คุณมีมุมมองอย่างไรกับประเด็นนี้?” หรือ “มีใครมีความคิดเห็นหรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไปไหม?” แทนที่จะใช้คำถามนำหรือเริ่มต้นด้วยความคิดเห็นของตนเองที่อาจทำให้คนอื่นรู้สึกว่าต้องเห็นด้วย ทำให้แน่ใจว่า ลูกทีมทุกคน รู้สึกถึงการถูกรับฟัง นอกจากนี้ การพยายามทำให้แน่ใจว่าเสียงของคนทุกคนได้รับการรับฟัง ไม่ใช่แค่คนที่พูดดังที่สุดหรือมีตำแหน่งสูงที่สุดเท่านั้น เทคนิคหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ คือ การเวียนให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นก่อนที่จะเริ่มการอภิปรายทั่วไป หรือการใช้เครื่องมือที่ช่วยให้คนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะสามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น การใช้ระบบแสดงความคิดเห็นแบบไม่ระบุตัวตน […]
ENGAGING LEADER : บทบาทใหม่ ที่หัวหน้า อยากเข้าใกล้ความสำเร็จ “ต้องใกล้ชิดลูกน้องมากกว่าเดิม”

Engaging Leader คือบทบาทใหม่ของหัวหน้าที่ต้องมีมากกว่าแค่การ “คุมทีม” แต่ต้องสามารถ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนา และใกล้ชิดลูกทีมมากขึ้นกว่าเดิม [Real Case] เสียงของ HR ที่สะท้อนความล้มเหลวด้าน People Manager ของหัวหน้า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ต้องยื่นมือช่วยเหลือ ? Middle Manager ในยุคนี้ เคยรู้สึกเหมือนถูกบีบอัดเหมือนแซนวิชไหม? ในขณะที่องค์กรคาดหวังให้คุณขับเคลื่อนทีมงานไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ลูกทีมของคุณก็ต้องการการสนับสนุน ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจจากคุณด้วยเช่นกัน และถ้าคุณเป็นหนึ่งในผู้จัดการระดับกลางที่รู้สึกว่า “ฉันต้องบริหารทั้งงานและคนไปพร้อมกัน แต่ฉันไม่มีเครื่องมือหรือแนวทางที่ดีพอ และเวลาก็ไม่ได้มีมากที่จะบริหารทุกอย่างไปพร้อมกัน ” ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง: จาก Manager สู่ Engaging Leader เมื่อโลกการทำงานเปลี่ยนแปลงไป “การเป็นหัวหน้า” แบบเดิมที่มุ่งเน้นแค่ผลลัพธ์ของงาน อาจไม่เพียงพออีกต่อไป Engaging Leader คือบทบาทใหม่ของหัวหน้าที่ต้องมีมากกว่าแค่การ “คุมทีม” แต่ต้องสามารถ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนา และใกล้ชิดลูกทีมมากขึ้นกว่าเดิม “ผู้นำที่ดี ไม่ใช่แค่บริหาร KPI แต่ต้องบริหารใจคนด้วย” […]
ยกระดับ Line Manager สู่ Engaging Leader : ขับเคลื่อนทีมด้วย 3 Key หลัก (Engage, Drive, Develop)

Engaging Leader คือ ผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความสัมพันธ์กับทีมงานได้อย่างลึกซึ้ง
Manager มือใหม่ ระวังโดนรับน้อง ! รับมือกับปัญหาในทีมไม่ไหว จนอยาก บอกลาตำแหน่งหัวหน้า

เรียนรู้ Systematic Problem Solving สำหรับ Manager มือใหม่ พร้อมเทคนิคจาก Gartner การจัดการปัญหาทีม การตัดสินใจ และการสร้างผลงานอย่างเป็นระบบ
Checklist หัวหน้างานมือใหม่ต้องรู้อะไร ให้ทีมหลงรักตั้งแต่แรกเริ่ม

ในช่วง 90 วันแรก คือ จุดชี้วัดสำคัญของเหล่าหัวหน้ามือใหม่ ว่าจะไปรอดหรือไม่ เพราะจะเต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องรับผิดชอบทั้งบริหารงานและลูกทีม
เป็น Manager เมื่อพร้อม! อย่าปล่อยให้กลายเป็นปัญหาองค์กร

การพัฒนา Manager ให้พร้อมเป็นหัวใจสำคัญที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ หากปล่อยให้หัวหน้าทีมทำงานโดยปราศจากทักษะที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ความล้มเหลวในการขับเคลื่อนเป้าหมายขององค์กร
เคล็ดลับในการสร้าง Digital Organization ให้สำเร็จ

Business user Champion เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี Digital เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และตีความข้อมูลเพื่อตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ Digital ข้อมูล และ AI ในการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว
ถอดรหัสการประสานงานที่ล้มเหลวในองค์กร

ในยุคที่การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนขึ้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนาระบบและวัฒนธรรมการทำงานแบบ Cross-functional
3 ขั้นตอน สร้างก่อนสาย !

Digital Leadership คือ ความสามารถในการนำองค์กรหรือทีมในยุค Digital ที่ประกอบไปด้วยการมีทักษะความรู้และวิสัยทัศน์ด้าน Digital การบริหารความเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจบนข้อมูล ความคล่องตัวและความยืดหยุ่น